สวัสดีค่ะน้องๆ พี่ปอยห่างหายไปจากบล็อกทั้งสอบตำรวจชั้นประทวน และ สอบตำรวจชั้นสัญญาบัตร ไปนานมากค่ะ เพราะว่ายังต้องปรับตัวกับที่ทำงานใหม่ และภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ ซึ่งถือได้ว่า มีหน้าที่รับผิดชอบที่มากขึ้น เพราะเราได้มาอยู่ในระดับสัญญาบัตรแล้ว ซึ่งถือเป็นผู้บริหารระดับต้น ดังนั้น ความรู้ความสามารถที่เรามี จะต้องนำมาปรับใช้ในการทำงาน รวมถึงหลักการบริหารงานบุคคล (การจูงใจ ขวัญกำลังใจ ภาวะผู้นำ ฯลฯ) ก็จะต้องนำมาใช้ในชีวิตการทำงานด้วยเช่นกัน
บทความนี้ จะเป็นการแนะนำการอ่านวิชาภาษาไทย ซึ่งถือได้ว่า เป็นวิชาที่สำคัญอีกวิชาหนึ่ง วิชานี้มีขอบเขตกว้างมาก ไม่สามารถคาดเดาว่าข้อสอบจะออกแนวไหน เพราะในแต่ละปี ข้อสอบไม่เหมือนกัน หากจะวัดกันที่คะแนนสอบนั้น พูดได้ว่าวิชาอื่นๆ นั้น คะแนนสอบจะสูสีกัน แต่จะมาตัดกันที่วิชาภาษาไทย ใครที่มีพื้นฐานวิชาภาษาไทยดี ก็ย่อมได้เปรียบคู่ต่อสู้ค่ะ
บทความนี้ พี่ปอยจะเขียนจากประสบการณ์จริงในการอ่านหนังสือของพี่ปอยเอง ซึ่่งบอกไว้ก่อนนะคะว่า พี่ปอยไม่ได้เป็นคนเรียนเก่ง หัวปานกลาง ในการสอบแต่ละครั้ง ไม่ได้อยู่ที่ความสามารถอย่างเดียว แต่อยู่ที่ดวงด้วยค่ะ ที่กล่าวมานี้ก็เพราะว่า จากการอ่านหนังสือสอบไม่ว่าจะตอนสอบชั้นประทวน และสอบสัญญาบัตร เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าข้อสอบจะออกอะไร ก็ได้แต่เดาและเก็งข้อสอบเอง เมื่อถึงเวลาสอบปรากฏว่า แต่ละวิชาที่พี่ปอยเก็งข้อสอบนั้นน่ะ มันออกสอบ นี่ก็ถือว่า เป็นเรื่องของดวงเหมือนกันค่ะ
หากใครติดตามบล็อกสอบตำรวจชั้นประทวน ก็จะทราบว่า พี่ปอยไม่ได้ไปติวที่สถาบันไหน อาศัยอ่านเอง การสอบชั้นประทวนและสอบสัญญาบัตร อ่านหนังสือสอบประมาณ 1 เดือนค่ะ และเป็นการสอบครั้งแรกทั้งชั้นประทวน และสัญญาบัตร น้องๆ คงคิดว่าพี่ปอยเรียนเก่ง หัวดี อยากบอกว่า ที่คิดนั้นผิดค่ะ พี่ปอยอายุมากแล้ว เรียนหนังสือปานกลาง สอบติดตำรวจชั้นประทวนตอนอายุ 34 ปี 8 เดือน สอบติดสัญญาบัตรอายุ 37 ปี 4 เดือน ฉะนั้น ใครที่อายุมาก ก็อย่าเพิ่งท้อนะคะ ทุกคนมีเวลาเท่ากันคือ 24 ชั่วโมงต่อวัน ขึ้นอยู่กับความขยันในการอ่านหนังสือ ความตั้งใจ ความมุ่งมั่น และความพยายาม
กลับเข้ามาเรื่องการอ่านวิชาภาษาไทยกันนะคะ เริ่มต้นคือ การรวบรวมเนื้อหาวิชาภาษาไทย
1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน "อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร" เล่มเล็กๆ เล่มละ 20 บาท
2. คำราชาศัพท์
3. ลักษณนาม
4. แนวข้อสอบ ก.พ. (การตีความ, วิเคราะห์, เงื่อนไขทางภาษา ฯลฯ)
5. สำนวน, สุภาษิต, คำพังเพย
6. คำฟุ่มเฟือย, คำกำกวม, คำประสม, คำซ้ำ, คำซ้อน, คำสมาส ฯลฯ
7. คำสันธาน, คำบุพบท, คำวิเศษณ์ ฯลฯ
8. คำภาษาต่างประเทศ
นี่คือส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทยนะคะ ที่น้องจะต้องหามาอ่าน อ่านให้ครอบคลุมทุกข้อยิ่งดีค่ะ พี่ปอยอ่านวิชานี้อย่างต่ำ 4 รอบค่ะ เพราะว่าวิชานี้พี่ปอยคิดว่ามีความสำคัญ หากเราได้คะแนนวิชานี้เยอะ ย่อมได้เปรียบคู่ต่อสู้ค่ะ
จำได้ว่า ข้อสอบนายร้อยปี 2554 ที่ผ่านมา (รุ่น 7000/2) ข้อสอบวิชาภาษาไทยแต่ละข้อ โจทย์ยาวมากๆ เลยค่ะ วิชานี้ส่วนใหญ่ทำไม่ค่อยทันกัน พี่ปอยเก็บไว้ทำเป็นวิชาสุดท้าย เพราะว่าโจทย์ยาวมาก กลัวจะเสียเวลาในวิชาอื่นๆ ค่ะ ข้อสอบส่วนใหญ่จะเป็นแนววิเคราะห์ ให้อ่านบทความแล้วสรุปออกมาค่ะ เหมือนแนวข้อสอบ ก.พ. ฉะนั้น วิชาภาษาไทย พี่ปอยแนะนำให้หัดทำข้อสอบ ก.พ. และให้หาไฟล์เสียงของ อาจารย์จากสถาบันติว ใส่ mp3 ฟังในยามว่าง เพื่อที่จะได้รู้เทคนิคในการทำข้อสอบวิชาภาษาไทยค่ะ
เย้ๆ พี่ปอยเขียน blog เพิ่มแล้ว จะรอติดตามเรื่องต่อไปนะคะ
ReplyDeleteขอบคุณพี่ปอยมากค่ะ
ส้มโอ
ขอบใจจ้าน้องส้มโอ อย่าลืมอ่านหนังสือนะคะ
Deleteขอบคุณครับพี่ปอย ที่มาแนะนำประสบการณ์ตรง เพราะอย่างน้อยพี่ปอยก็ได้พิสูจน์ให้เห็นด้วยตัวเองแล้วว่าเราสามารถทำได้ในครั้งแรก
ReplyDeleteตั้งใจอ่านหนังสือมากๆ ค่ะ เน้นว่า...อ่านหลายๆ รอบ และฝึกหัดทำข้อสอบไปด้วยค่ะ ติดขัดหรือไม่เข้าใจตรงไหน ก็เปิดตัวบทดูเลย จะทำให้เราจำแม่นขึ้น
Deleteขอบคุณสำหรับคำแนะนำดี ๆ ครับ
ReplyDeleteพี่ปอย มาเขียนอีก ดิ.....จิ อ่าน อีก 5555
ReplyDeleteผึ้งหราาาาา ช่วงนี้ยังไม่ว่างเลยอ่ะจ๊ะ
Delete